วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วัน อังคาร ที่ 4 พฤศจิกายน  2557

            วันนี้อาจารย์ บอกคะแนนที่สอบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผลคะแนนที่สอบได้อยู่ในระดับที่พึ่งพอใจมาก เพราะว่าได้อ่านหนังสือมา และอาจารย์ก็ได้เฉลยข้อสอบที่ผ่านมาเพื่อให้ทบทวนในข้อที่ผิด ทำให้เราหายข้องใจกับข้อที่ผิดและเข้าใจได้อย่างถูกต้อง




ประเมินตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ ภูมิใจกับผลคะแนนสอบเพราะตั้งใจอ่านหนังสือมาถึงจะไม่ได้อ่านบทที่1 มา เพราะไม่ได้ปริ้นท์มาจึงไม่ค่อยเต็มที่เท่าไร แต่ถึงอย่างไรกับผลคะแนนที่ได้ก็เกินคาดมากแล้ว

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆส่วนใหญ่มีคะแนนดี คนที่ได้คะแนนสูงสุด เพื่อนๆก็ปรบมือชื่นชม เพราะเพื่อนมีการเตรียมตัวมาดีจึงทำให้คะแนนสอบออกมาดี  เป็นแบบอย่างที่ดีนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองได้


ประเมินอาจารย์   อธิบายและทบทวนเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ อาจารย์มีอารมณ์ดีทำให้นักศึกษาชอบเรียนและบรรยากาศภายในห้องไม่เคร่งเครียดด้วย









วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วัน อังคาร ที่ 28  ตุลาคม  2557

ไม่มีการเรียนการสอน  สอบกลางภาคเรียนที่1//2557
ของวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
(Child Care of Early Childhood with Special Needs)






ประเมินตนเอง     อ่านหนังสือมาพอสมควร แต่ไม่ได้อ่านบทที่ 1 มา เพราะไม่มีชีท พอตอนเข้าห้องสอบตื่นเต้นมากๆ ต้องรวบรวมสมาธิให้นิ่งๆไว้ ลุ้นกับข้อสอบมากพอเปิดมากส่วนใหญ่มีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้นเลยแต่ก็พอเปิดข้อสอบพอทำได้มี60ข้อ ไม่มั่นใจประมาน15-20ข้อ และได้ตรวจตรวจดีแล้วก่อนออกจากห้องซึ่งก็ออกเกือบคนสุดท้ายเลย

ประเมินเพื่อน   นั่งเป็นระเบียบเรียบร้อยดี บางคนก็นั่งอ่านทบทวนก่อนสอบ เพื่อนบางคนทำข้อสอบเพียง40นาทีก็ออกจากห้องแล้ว ไม่มีใครลอกใครเพื่อนๆต่างก้มหน้าก้มตาทำข้อสอบของตนเองอย่างตั้งใจ


ประเมินอาจารย์    ควบคุมการดูแลในการสอบที่ดี ชี้แจงละเอียดอย่างเข้าใจ ยิ้มแย้ม สร้างบรรยากาศพูดคุยไม่ให้เครียดก่อนสอบ






บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วันอังคาร ที่ 21 ตุลาคม  2557


ความรู้ที่ได้รับ


           วันนี้เข้าห้องมาอาจารย์ก็บอกรายละเอียดเกี่ยวกับ การสรุปวิจัย ซึ่งกำหนดส่งวันที่2 ธันวาคม 2557 และสอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ประเภทนี้จะมีเยอะที่สุดในเด็กปฐมวัย  เด็กสมาธิสั้นมักมีอาการร่วม3อย่าง 1. สมาธิสั้น  2. อยู่นิ่งๆไม่ได้  3. หุนหันพลันแล่นเด็ก  และสุดท้ายเด็กพิการซ้อน คือมีความบกพร่องที่มากกว่า1อย่าง พอท้ายชั่วโมงอาจารย์ก็ได้บอกแนวข้อสอบเพื่อกลับไปอ่านสอบสัปดาห์หน้า มี 60 ข้อ 20 แนน




การนำไปประยุกต์ใช้

1.       การดูแลและส่งเสริมในการจัดการเรียนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละประเภท
2.       พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าการอบรมเลี้ยงดูไม่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เด็กเป็นสมาธิสั้น
3.       ควรมีท่าทางที่อ่อนโยนในการเข้าหาเด็ก ไม่ควร ขู่ หรือ บังคับ ใช้การดึงความสนใจให้เด็กทำเอง
4.       ต้องใส่ใจความรู้สึกเด็ก ไม่เปรียบเทียบให้เขารู้สึกแย่


ประเมินตนเอง  แอบกังวลกับข้อสอบนิดหน่อยเพราะต้องสอบอาทิตย์ต่อไป และวันนี้เข้าเรียนตรงเวลาตามปกติ ตั้งใจเรียน ตื่นเต้นกับเรียนการสอนเพราะว่าอาจารย์สอนสนุกและมี คลิปวีดีโอใหม่ๆเกี่ยวกับเด็กพิเศษมานำเสนอแต่ละสัปดาห์ไม่ซ้ำ ซึ่งวันนี้ก็ได้เปิด VDO เกี่ยวกับการบำบัดเด็กสมาธิสั้น  อาจารย์บอกให้ตั้งใจฟังเพราะว่า VDO นี้ไม่มีในยูทูป ซึ่งอาจารย์ได้ซื้อมาเองและนำมาเปิดให้นักศึกษาได้ดู และดิฉันก็ได้ทำการจดบันทึกไประหว่างดูคลิปวีดีโอนี้ค่ะ

ประเมินเพื่อน   เพื่อนน่ารักตั้งใจเรียน บรรยากาศในห้องไม่เคร่งเครียด เวลาเรียนสนุกสนานเพื่อนๆเป็นกันเองเวลาไม่เข้าใจก็สามารถปรึกษาได้

ประเมินอาจารย์   มีเทคนิคการสอนที่ดี ไม่น่าเบื่อ ถึงจะเป็นเรื่องที่สอนเดิมๆแต่มีวิธีสอนในแต่ละครั้งที่แตกต่างเรื่อยๆทำให้การเรียนแต่ละครั้งสนุก มีเรื่องเล่า ที่ไม่ซ้ำและให้เพื่อนออกไปเล่นสมมุติแสดงท่าทางให้ดู วันนี้อาจารย์ยกตัวอย่างเล่าเหตุการณ์หนึ่งให้ฟังซึ่งต่อไปเราจะเป็นครูควรรู้ไว้ “เล่าว่าเด็กสมาธิสั้น เมื่อโดนครูดุ เด็กจะเก็บไปคิด ถ้าเราดุเด็กสมาธิสั้นทำไมเล่นแล้วไม่เก็บ ต่อมาเมื่อเขาเห็นครูไปเก็บให้เด็กคนอื่นเด็กจะแค้นและจำฝังใจเลย และต่อมาเด็กก็เอาไม้ไปตีหัวครูเลย เพราะแค้นที่ว่าเขาแต่ไม่ว่าเพื่อนและยังเก็บของงให้ ”








บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่  14 ตุลาคม  2557


 
ความรู้ที่ได้รับ 

          วันนี้เรียนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ เด็กออทิสติก ได้ทราบว่า เด็ก LD. มักเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง จะเห็นเมื่อเข้าวัยประถมแล้ว ส่วน LD.ในด้านคำนวณมักเกิดกับผู้หญิง มากกว่า ผู้ชาย ส่วนออทิสติก จะรักษาไม่หายเป็นไปตลอดชีวิต แต่สามารถส่งเสริมให้ดีขึ้นได้ มีอาการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5แบบแปลกๆ




การนำไปประยุกต์ใช้

1. การดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นต้องอาศัยความรัก และความอ่อนโยนกับเด็กเป็นพิเศษ
2. ไม่กดดันเด็กเมื่อเด็กทำไม่ได้ ควรเปลี่ยนเป็นให้กำลังใจจะดีกว่า
3. ควรทุมเทและหาทางส่งเสริมเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
  

ประเมินตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ไม่พูดคุยระหว่างเรียน และมีการจดบันทึกในเนื้อหาที่สำคัญๆไว้สม่ำเสมอ

ประเมินเพื่อน  ตั้งใจเรียนมีเพียงบางช่วงเท่านั้นที่มีคุยกันเล็กน้อย การแต่งกายถูกระเบียบ ให้ความสนใจระหว่างเรียน เช่น ตั้งคำถาม ตอบคำถาม และสนทนาร่วมกับอาจารย์ ในบางเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ


ประเมินอาจารย์  อธิบาย และ เตรียมเนื้อหาการเรียนการสอนมาดี มียกตัวอย่างเหตุการณ์จริง หรือ คลิปวีดีโอมาอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ชอบเวลาเล่าเรื่องและเล่นบทบาทสมมุติให้ดู เป็นการสอนที่ดีมากเพราะพอนึกถึงก็จำได้ว่า
อาจารย์แสดงท่าทางอะไร กำลังสอนเรื่องอะไร เมื่อเรานึกถึงบรรยากาศตอนนั้นก็จะจำได้เลยว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร






วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234

สัปดาห์สอบกลางภาคเรียนที่ 1 /2557